Back
Stream Fishing
Stream Fishing หรือ การตกปลาน้ำไหล ที่หลายๆคนชื่นชอบกัน นอกจากปลา หรือเกมฟิชอันเป็นเป้าหมายแล้ว อีกเสน่ห์ของการตกปลาน้ำไหลก็คือ การนำพาเราเข้าสู่โหมดของการพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ พรรณไม้ สายธาร และขุนเขา
การตกปลาน้ำไหลสไตล์แอดมิน
แนวทางการตกปลาน้ำไหลของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นที่ ตามชนิดปลาและตามความถนัดของนักตกปลา แต่สำหรับผู้เขียนแล้วก็จะชอบใช้ชุดอุปกรณ์ขนาดเบาเพราะส่วนมากหมายตกปลาน้ำไหลที่ได้ไปตกก็จะเป็นพวกปลากระสูบเป็นหลัก ชุดอุปกรณ์ขนาดเบาก็สามารถใช้ได้เหมาะสมลงตัว โดยใช้ได้ทั้งชุดสปินนิ่ง,ชุดเบทคาสติ้ง
คันเบ็ด
จะเป็นคันท่อนเดียว , สองท่อน หรือ คันพกพาแบบ 3-4 ท่อน ในปัจจุบันก็มีให้เลือกใช้งานกันมากขึ้น ซึ่งข้อดีของคันหลาย ๆ ท่อนก็คือ พกพาสะดวก สามารถใส่เป้ใส่กระเป๋าเดินป่าได้ แต่หลาย ๆ ท่านก็ยังนิยมใช้คันท่อนเดียวหรือ สองท่อนอยู่ ด้วยความที่เบากว่าและแอ๊คชั่นที่สวยงามนั่นเอง
เรื่องของพิกัดของคันเบ็ดนั้น สภาพหมาย,ชนิดและขนาดของปลา,ขนาดเหยื่อที่ใช้ ก็จะเป็นตัวกำหนดให้เราเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม เช่น ถ้าจะเล่นเหยื่อเบามาก ๆ หลายท่านก็จะเลือกคันแอ็คชั่น UL : ultralight , เหยื่อมีน้ำหนักขึ้นมานิดก็จะเป็น L : light action, ML: medium light หรือ M: medium action ฯลฯ ขึ้นไปตามลำดับ
ส่วนความยาวที่นิยมกันก็มีตั้งแต่ 4 ฟุต 5 ฟุต ไปจนถึง 6 ฟุตครึ่งหรือกว่านั้น แต่สำหรับผู้เขียนเองจะชอบคันยาวไม่เกิน 6ฟุตครึ่ง เพราะคันสั้นจะสะดวกและคล่องตัวเวลาที่เราต้องปีนป่ายไปตามริมลำธารเพื่อเข้าหมายหรือใช้งานในที่แคบได้ดีกว่า ขณะเดียวกันก็ยังสามารถทำระยะส่งเหยื่อได้ดีพอควร ส่วนคันยาว ๆ นั้นแม้จะเกะกะกว่าในที่แคบ ๆ แต่ก็ตีเหยื่อทำระยะได้ดีกว่า ดังนั้นเพื่อนนักตกปลาก็ควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพหมายและสไตล์การตกปลาของตนเอง
รอก
เรื่องรอกถ้าเป็นรอกสปินนิ่งบางท่านอาจเริ่มใช้ตั้งแต่ตัวเล็กประมาณเบอร์ 500 ,เบอร์ 1000,เบอร์2000 ขึ้นไป ถ้าเป็นรอกเบทคาสติ้งก็จะนิยมรอกขนาดกะทัดรัดและน้ำหนัก เบา ๆ ตามความถนัด ที่นิยมใช้รอกเล็ก ๆ เพราะการตกปลาแนวน้ำไหลนี้ไม่ได้ต้องการใส่สายมากนัก ส่วนใหญ่จะเน้นกันที่ความเบาแบบถือเดินตีเหยื่อได้ทั้งวัน อุปกรณ์ที่เบากว่าจะช่วยลดความเมื่อยล้าได้มากทีเดียว ส่วนคุณภาพของรอกจะแปรผันตามงบประมาณ รอกที่มีราคาสูงส่วนใหญ่ก็มักจะมีคุณภาพที่ดีกว่า เช่น น้ำหนักเบากว่า,ระบบเบรคที่แน่นอนกว่า,การออกแบบช่วยในเรื่องการตีสายและเรียงสายดีกว่า,วัสดุดีกว่า ฯลฯ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับงบประมาณในกระเป๋าของท่านเลยครับ
สาย
ปัจจุบันสายที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็จะเป็นสาย PE เนื่องจากขนาดหน้าตัดเล็กมาก(ถ้าเทียบกับสายเอ็นธรรมดาในอดีต) และก็ยังคงแรงดึงที่สูง นอกจากนี้ยังมีอัตราการยืดตัวต่ำ ทำให้เมื่อปลาฉวยเหยื่อแล้ววัดเบ็ดติดได้ง่ายกว่า ประกอบกับในปัจจุบันสายPE ก็มีราคาถูกลงมากจึงได้รับความนิยมมากทีเดียว สายอีกประเภทที่นิยมกันคือ สาย fluorocarbon ซึ่งมีข้อดี คือ invisible หรือ มองเห็นได้ยากในน้ำ รวมทั้งยังจมน้ำเร็วกว่าสาย PE แต่อย่างไรก็ตามสาย fluorocarbon ก็ยังคงไม่ได้รับความนิยมเท่ากับสาย PE
เรื่องของขนาดสาย ก็จะนิยมขนาดตั้งแต่ 0.8,0.6 หรือ 0.4 กันในอุปกรณ์ขนาดเบา แต่ในบางหมายที่มีอุปสรรคมาก หรือเน้นปลาไซส์ใหญ่ จะขยับใช้สายใหญ่ ๆ ขึ้นมานิดก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
- เหยื่อปลั๊ก ดำตื้น ดำลึก ต่าง ๆ ฯลฯ เหยื่อผิวน้ำอย่างพวกป๊อบเปอร์,เพนซิล เป็นต้น
กลุ่มอื่น ๆ เช่น เหยื่อที่สร้างแอ็คชั่นด้วยใบโลหะ
- ประเภทใบหมุนเช่น เหยื่อสปินเนอร์
- ประเภทใบพลิ้วเช่น เหยื่อสปูน หรือ ไมโครสปูน เป็นต้น
อุปกรณ์ปลายสาย
เช่น พวกสาย shock leader ,ลูกหมุน,กิ๊บ เป็นต้น
อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ
- เป้ ,กระเป๋ากันน้ำ หรือ กระเป๋าคาดเอว ไว้เก็บสัมภาระจำเป็นต่าง ๆ
- กล่องเหยื่อใบขนาดย่อมๆ หรือ เล็ก เพื่อใส่เหยื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัวไว้ครับ
- คีม , กริปเปอร์ หรือ สวิงตักปลา ,หมวก,ถุงมือ,ผ้าบัฟ,แว่น ,ขวดน้ำพกพา ฯลฯ
ที่เหลือก็คือ ตามหาหมายตกปลาสวย ๆ และก็ออกเดินทางกันเลย ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับ stream fishing ตกปลาน้ำไหลท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติ และถ้ามีผลงานสวย ๆ ส่งรูปมาแชร์กันได้ในโพสต์นะครับ.
Stream Fishing ตกปลาน้ำไหลกัน
Stream Fishing หรือ การตกปลาน้ำไหล ที่หลายๆคนชื่นชอบกัน นอกจากปลา หรือเกมฟิชอันเป็นเป้าหมายแล้ว อีกเสน่ห์ของการตกปลาน้ำไหลก็คือ การนำพาเราเข้าสู่โหมดของการพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ พรรณไม้ สายธาร และขุนเขา
การตกปลาน้ำไหลสไตล์แอดมิน
แนวทางการตกปลาน้ำไหลของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นที่ ตามชนิดปลาและตามความถนัดของนักตกปลา แต่สำหรับผู้เขียนแล้วก็จะชอบใช้ชุดอุปกรณ์ขนาดเบาเพราะส่วนมากหมายตกปลาน้ำไหลที่ได้ไปตกก็จะเป็นพวกปลากระสูบเป็นหลัก ชุดอุปกรณ์ขนาดเบาก็สามารถใช้ได้เหมาะสมลงตัว โดยใช้ได้ทั้งชุดสปินนิ่ง,ชุดเบทคาสติ้ง
คันเบ็ด
จะเป็นคันท่อนเดียว , สองท่อน หรือ คันพกพาแบบ 3-4 ท่อน ในปัจจุบันก็มีให้เลือกใช้งานกันมากขึ้น ซึ่งข้อดีของคันหลาย ๆ ท่อนก็คือ พกพาสะดวก สามารถใส่เป้ใส่กระเป๋าเดินป่าได้ แต่หลาย ๆ ท่านก็ยังนิยมใช้คันท่อนเดียวหรือ สองท่อนอยู่ ด้วยความที่เบากว่าและแอ๊คชั่นที่สวยงามนั่นเอง
เรื่องของพิกัดของคันเบ็ดนั้น สภาพหมาย,ชนิดและขนาดของปลา,ขนาดเหยื่อที่ใช้ ก็จะเป็นตัวกำหนดให้เราเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม เช่น ถ้าจะเล่นเหยื่อเบามาก ๆ หลายท่านก็จะเลือกคันแอ็คชั่น UL : ultralight , เหยื่อมีน้ำหนักขึ้นมานิดก็จะเป็น L : light action, ML: medium light หรือ M: medium action ฯลฯ ขึ้นไปตามลำดับ
ส่วนความยาวที่นิยมกันก็มีตั้งแต่ 4 ฟุต 5 ฟุต ไปจนถึง 6 ฟุตครึ่งหรือกว่านั้น แต่สำหรับผู้เขียนเองจะชอบคันยาวไม่เกิน 6ฟุตครึ่ง เพราะคันสั้นจะสะดวกและคล่องตัวเวลาที่เราต้องปีนป่ายไปตามริมลำธารเพื่อเข้าหมายหรือใช้งานในที่แคบได้ดีกว่า ขณะเดียวกันก็ยังสามารถทำระยะส่งเหยื่อได้ดีพอควร ส่วนคันยาว ๆ นั้นแม้จะเกะกะกว่าในที่แคบ ๆ แต่ก็ตีเหยื่อทำระยะได้ดีกว่า ดังนั้นเพื่อนนักตกปลาก็ควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพหมายและสไตล์การตกปลาของตนเอง
รอก
เรื่องรอกถ้าเป็นรอกสปินนิ่งบางท่านอาจเริ่มใช้ตั้งแต่ตัวเล็กประมาณเบอร์ 500 ,เบอร์ 1000,เบอร์2000 ขึ้นไป ถ้าเป็นรอกเบทคาสติ้งก็จะนิยมรอกขนาดกะทัดรัดและน้ำหนัก เบา ๆ ตามความถนัด ที่นิยมใช้รอกเล็ก ๆ เพราะการตกปลาแนวน้ำไหลนี้ไม่ได้ต้องการใส่สายมากนัก ส่วนใหญ่จะเน้นกันที่ความเบาแบบถือเดินตีเหยื่อได้ทั้งวัน อุปกรณ์ที่เบากว่าจะช่วยลดความเมื่อยล้าได้มากทีเดียว ส่วนคุณภาพของรอกจะแปรผันตามงบประมาณ รอกที่มีราคาสูงส่วนใหญ่ก็มักจะมีคุณภาพที่ดีกว่า เช่น น้ำหนักเบากว่า,ระบบเบรคที่แน่นอนกว่า,การออกแบบช่วยในเรื่องการตีสายและเรียงสายดีกว่า,วัสดุดีกว่า ฯลฯ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับงบประมาณในกระเป๋าของท่านเลยครับ
สาย
ปัจจุบันสายที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็จะเป็นสาย PE เนื่องจากขนาดหน้าตัดเล็กมาก(ถ้าเทียบกับสายเอ็นธรรมดาในอดีต) และก็ยังคงแรงดึงที่สูง นอกจากนี้ยังมีอัตราการยืดตัวต่ำ ทำให้เมื่อปลาฉวยเหยื่อแล้ววัดเบ็ดติดได้ง่ายกว่า ประกอบกับในปัจจุบันสายPE ก็มีราคาถูกลงมากจึงได้รับความนิยมมากทีเดียว สายอีกประเภทที่นิยมกันคือ สาย fluorocarbon ซึ่งมีข้อดี คือ invisible หรือ มองเห็นได้ยากในน้ำ รวมทั้งยังจมน้ำเร็วกว่าสาย PE แต่อย่างไรก็ตามสาย fluorocarbon ก็ยังคงไม่ได้รับความนิยมเท่ากับสาย PE
เรื่องของขนาดสาย ก็จะนิยมขนาดตั้งแต่ 0.8,0.6 หรือ 0.4 กันในอุปกรณ์ขนาดเบา แต่ในบางหมายที่มีอุปสรรคมาก หรือเน้นปลาไซส์ใหญ่ จะขยับใช้สายใหญ่ ๆ ขึ้นมานิดก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
เหยื่อปลอม
สำหรับเกมตกปลาน้ำไหลในบ้านเรา หลัก ๆ ก็จะเป็นปลากระสูบ บางพื้นที่อาจมีปลาชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาพลวง ,ปลาสะนาก,ฯลฯ ซึ่งเหยื่อปลอมที่นิยมใช้กันในการตกปลาน้ำไหล ก็พอจำแนกประเภทได้คือ
กลุ่มเหยื่อยาง
- ปัจจุบันใช้กันแพร่หลายมากทั้ง ปลายาง หนอนยาง หรือเหยื่อยางในรูปแบบอื่น ๆ และมีขนาดต่าง ๆ ให้เลือกใช้งานกันมากมาย
กลุ่มเหยื่อ Hard Bait- ปัจจุบันใช้กันแพร่หลายมากทั้ง ปลายาง หนอนยาง หรือเหยื่อยางในรูปแบบอื่น ๆ และมีขนาดต่าง ๆ ให้เลือกใช้งานกันมากมาย
- เหยื่อปลั๊ก ดำตื้น ดำลึก ต่าง ๆ ฯลฯ เหยื่อผิวน้ำอย่างพวกป๊อบเปอร์,เพนซิล เป็นต้น
กลุ่มอื่น ๆ เช่น เหยื่อที่สร้างแอ็คชั่นด้วยใบโลหะ
- ประเภทใบหมุนเช่น เหยื่อสปินเนอร์
- ประเภทใบพลิ้วเช่น เหยื่อสปูน หรือ ไมโครสปูน เป็นต้น
อุปกรณ์ปลายสาย
เช่น พวกสาย shock leader ,ลูกหมุน,กิ๊บ เป็นต้น
อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ
- เป้ ,กระเป๋ากันน้ำ หรือ กระเป๋าคาดเอว ไว้เก็บสัมภาระจำเป็นต่าง ๆ
- กล่องเหยื่อใบขนาดย่อมๆ หรือ เล็ก เพื่อใส่เหยื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัวไว้ครับ
- คีม , กริปเปอร์ หรือ สวิงตักปลา ,หมวก,ถุงมือ,ผ้าบัฟ,แว่น ,ขวดน้ำพกพา ฯลฯ
ที่เหลือก็คือ ตามหาหมายตกปลาสวย ๆ และก็ออกเดินทางกันเลย ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับ stream fishing ตกปลาน้ำไหลท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติ และถ้ามีผลงานสวย ๆ ส่งรูปมาแชร์กันได้ในโพสต์นะครับ.
แนวนี้น่าสนใจ ต้องหาหมายสวย ๆ ไปลองบ้างแล้วครับ
1 Comment